รัฐประหาร ของ ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

22 พฤษภาคม 2557

  • 14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน[16] เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่ง ชัยเกษม นิติสิริ ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง[17] และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง[18] ที่ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[19] ตำรวจ จับประชาชน จำนวน 37 ราย ที่ชุมนุม บริเวณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[20]
  • 17:00 น. - เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณ ถนนอุทยาน[22]
  • 17:30 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุมพื้นที่ ถนนอุทยาน สำเร็จ และสั่งให้กลุ่ม นปช. ยุติความเคลื่อนไหวจนกว่าจะมีคำสั่ง สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ของตน และให้อยู่ในอำนาจตามที่กำหนด[22]
  • 18:00 น. - คสช. ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง[21]
  • 18:20 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. - 5.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่[21] ผลแห่งประกาศนี้ทำให้สถานที่สำคัญหลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป รวมถึงระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ก็ประกาศปิดทำการก่อนเวลาเช่นกัน กล่าวคือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[23] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[24] และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[25] สำหรับสายซิตี้ไลน์จะออกในเวลา 21.02 น. และสำหรับสายเอ็กซ์เพรสไลน์ จะออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเที่ยวสุดท้ายในเวลา 21.00 น.[26]

24 พฤษภาคม 2557

  • 09:35 น. - ผู้ให้บริการช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับชาติ เข้าพบ คสช. โดยคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ในวันเดียวกัน[42]
  • 10:50 น. - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 4/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ช่อง 21 ที่ยังระงับการออกอากาศ[42] ซึ่งแต่เดิมรวมถึงโทรทัศน์ดาวเทียม 274 ช่องรายการ ที่มีเนื้อหาสาระซึ่งไม่ขัดต่อประกาศ คสช.ด้วย[43] โดยทุกช่องที่กลับมาออกอากาศจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนดไว้บนหน้าจอ
  • 10:53 น. - เจ้าหน้าที่ทหารปิดการจราจรบน ถนนพหลโยธิน ทั้งขาเข้าและขาออก ใกล้กับสี่แยกรัชโยธิน หลังเริ่มมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาประท้วงรัฐประหาร[44]
  • 11:58 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มตรึงกำลังบริเวณด้านหน้าโรงภาพยนตร์ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เขตจตุจักร หลังมีผู้ชุมนุมเริ่มตั้งกลุ่มประท้วงการทำรัฐประหารอีกครั้งและมีทีท่าว่าเหตุการณ์จะบานปลาย[44]
  • 16:15 น. - เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเริ่มตรึงพื้นที่บริเวณทางเข้าสถานีตำรวจนครบาล บางซื่อ หลังเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สำเร็จ และต้องการเคลื่อนขบวนต่อ โดยผู้ชุมนุมเตรียมใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสในการหลีกเลี่ยงการปะทะกับเจ้าหน้าที่ และเดินทางไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[45][46]
  • 16:40 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร เริ่มใช้พื้นที่บนสกายวอล์ครอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิปักหลักชุมนุม[45]
  • 16:57 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มบุกเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม แต่ฝั่งผู้ชุมนุมขัดขืนและวิ่งไล่เจ้าหน้าที่ให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม[45]
  • 17:00 น. - ผู้ชุมนุมบางส่วนปักหลักชุมนุมที่บริเวณสี่แยกปทุมวันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ตรึงกำลังไว้ก่อน ภายหลังผู้ชุมนุมถอยร่นไปยังบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ บางส่วนหนีเข้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ แต่ไม่นานเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าจะออกมาปิดประตูทางเชื่อมสกายวอล์คทั้งหมด[45]
  • 18:00 น. - พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวได้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายหลังจึงส่งไปรายงานตัวต่อ คสช. ก่อนจะถูกย้ายตัวไปยังค่ายทหาร เช่นเดียวกับผู้เข้ารายงานตัว คนอื่นๆ[47]
  • 18:11 น. - ผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกปทุมวัน เริ่มทยอยกลับ[45]
  • 18:48 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 7, 8 เนื้อหาย้าย พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ธาริต เพ็งดิษฐ์ ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ควบ 2 ตำแหน่ง พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ควบ 2 ตำแหน่ง และออกประกาศฉบับที่ 30 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง[48]
  • 20:15 น. - คสช. ออกคำสั่งห้ามผู้ให้บริการโทรทัศน์ทุกช่อง มิให้เปิดรับข้อความตัวอักษร หรือการโทรศัพท์เข้าแสดงความคิดเห็นต่างๆ ภายในรายการ หากฝ่าฝืน คสช.จะลงโทษจากเบาไปหาหนักคือ ตักเตือน เรียกพบ และออกคำสั่งระงับสัญญาณช่องรายการในที่สุด[43]

25 พฤษภาคม 2557

  • 10:00 น. - กลุ่มต่อต้านรัฐประหารได้เดินทางมายังร้าน แมคโดนัลด์ สาขา ศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซา ใกล้ แยกราชประสงค์ เพื่อทำกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร โดยทหารได้ตรึงกำลังโดยรอบ มีรายงานผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 2 ราย ได้แก่ นาย ภิญโญภาพ บำรุงธรรม และ นาย เอนก อินทร์ประเสริฐ โดบควบคุมตัวไว้ที่กองปราบปราม [49]และได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล 1 ราย
  • 10:00 น. - ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่ง โดยเข้ามาพร้อมกับ อานนท์ นำภา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน[50] หลังจากนั้นไม่นาน ไพวงษ์ เตชะณรงค์ วิมลรัตน์ กุลดิลก และ พิชิต ชื่นบาน ก็เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่งเช่นกัน[51]สมศักดิ์ ภักดีเดช บรรณาธิการเว็บไซต์ไทยอีนิวส์ ถูกจับกุมในวันดังกล่าว[52]
  • 10:10 น. - เจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน เดินทางออกจากหอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ โดยไม่ได้มี อานนท์ นำภา และ ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ติดตามออกมาด้วย[50]
  • 11:00 น. - มีกลุ่มบุคคลแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารประมาณ 30 คน ที่หน้า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ ในจำนวนนี้มีชาวไทยสัญชาติอเมริกันเข้าร่วมด้วย[53]
  • 11:30 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกเดินทางจากสถานทูตไปสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซา ในเวลาไม่นานเจ้าหน้าที่ก็ได้เข้ามาตรึงกำลัง และปิดการจราจรบน ถนนวิทยุ ตั้งแต่ แยกสารสิน จนถึง แยกเพลินจิต เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ชุมนุมมาชุมนุมด้านหน้าสถานทูตอีก[53]
  • 14:51 น. - คสช. ออกแถลงว่าให้ชาวนาเข้ามารับเงินค่าจำนำที่ค่ายทหาร และ กองทัพอากาศไทย ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้งบสี่หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินกู้สภาพคล่องของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการจ่ายล็อตแรก ส่วนล็อตหลังจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศทั้งหมดห้าหมื่นล้านบาท โดย คสช. คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน ในการจ่ายเงินค่าจำนำให้ชาวนาครบทุกราย ส่วนระยะเวลาการชำระคืนคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 14-15 เดือน ถึงจะสามารถปลดหนี้ส่วนนี้ได้[54]
  • 16:23 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 37 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-118 และความผิดตามประกาศหรือคำสั่งของ คสช. โดยให้ยกเว้นคดีความผิดในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ. มั่นคง) และ พ.ร.บ. บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน[55] ภายหลังมีประกาศเพิ่มเติมว่าความผิดข้างต้น ห้ามจำเลยแต่งตั้งทนายมาสู้คดี และจำเลยไม่มีสิทธิ์นำคดีไปยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา[ต้องการอ้างอิง]
  • 18:31 น. - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[56]
  • 19:58 น. - คสช. ทวิตอย่างเป็นทางการ ขอความร่วมมือให้ประชาชนหรือร้องขอให้บุคคลในครอบครัว ไม่ออกมาเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านการทำงานของ คสช. เพราะถึงทำไปก็ไม่มีประโยชน์ และเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิ์ดำเนินการตามคำสั่งภายใต้กฎอัยการศึกและประกาศหรือคำสั่งของ คสช. และถ้าประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับบาดเจ็บ จะไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง[57]
  • 22:45 น. - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายทหาร[58]

26 พฤษภาคม 2557

  • 9:49 น. - เจ้าหน้าที่ทหารคุมตัว สุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมแกนนำ กปปส. ออกจากค่ายทหาร และพาเข้ารายงานตัวในคดีกบฏกับสำนักงานอัยการสูงสุด[59]
  • 10:49 น. - กองทัพบกจัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [60][61]
  • 12:00 น. - ศาลอาญามีคำสั่งประทับรับฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง สุเทพ เทือกสุบรรณ ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากกรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมของ นปช. เมื่อ พ.ศ. 2553 ส่วนคดีกบฏ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ได้มีการพิจารณา[62]
  • 14:00 น. - สุเทพ เทือกสุบรรณ ยื่นคำร้องและหลักทรัพย์เป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกรไทยเพื่อขอประกันตัว ต่อมาศาลอนุมัติคำร้องให้ประกันตัวได้ โดยตีราคาการประกันตัวที่ 600,000 บาท และมีข้อแม้ว่าห้าม สุเทพ เทือกสุบรรณ เดินทางออกจากประเทศ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากศาล อีกทั้งศาลนัดให้มาตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ภายหลังเจ้าหน้าที่คุมตัวขึ้นรถและเดินทางกลับไปยังบ้านพักตามปกติ[62]
  • 15:28 น. - แกนนำ กปปส. 13 ราย ได้รับการประกันตัวชั่วคราว หลังวางเงินประกันตัวคนละ 100,000 บาท อัยการนัดสอบปากคำเพิ่มรายบุคคลภายหลัง[63]
  • 20:08 น. - ทรูวิชันส์ ออกแถลงกรณีการระงับการออกอากาศช่องข่าวสารต่างประเทศ 14 ช่อง เช่น ซีเอ็นเอ็น, บีบีซี เวิลด์นิวส์, ซีเอ็นบีซี ว่าช่องรายการดังกล่าวไม่สามารถควบคุมเนื้อหาบนจอโทรทัศน์ได้ อาจเข้าข่ายความผิดตามประกาศของ คสช. จึงจำเป็นต้องระงับการส่งสัญญาณชั่วคราว[64]

27 พฤษภาคม 2557

  • 15:40 น. - ทหารเข้าควบคุมตัว จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต[65][66]
  • 20:40 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 42 โดยปรับเวลาห้ามออกนอกจากเคหสถาน จากเดิมเป็น เวลา 00.01 - 4.00 น. และออกคำสั่งเฉพาะฉบับที่ 24

28 พฤษภาคม 2557

  • 16:45 น. - เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว จาตุรนต์ ฉายแสง มายังกองบังคับการปราบปราม เพื่อเตรียมนำตัวไปขึ้นศาลทหาร นับเป็นพลเรือนคนแรกที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร[67]
  • 18:30 น. - เกิดความวุ่นวายระหว่างการชุมนุมประท้วงรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทหารจับผู้ชุมนุมไป 2 คน ผู้ชุมนุมสลายตัวอีกประมาณ 10 นาทีต่อมา[68]

มิถุนายน 2557

  • 10 – เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คสช. ปลัดกระทรวง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ รวม 28 คนต่อศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและกบฏ จากการประกาศกฎอัยการศึกและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[69] ต่อมา ศาลอาญาให้ยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีนี้ ศาลพิจารณาว่า ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรถือเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงมีพนักงานอัยการเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
  • 13 – คสช. ออกประกาศฉบับที่ 64 ประกาศยกเลิกห้ามประชาชนออกจากเคหสถานทั่วราชอาณาจักร[70]ทหารจับ จิตรา คชเดช

กรกฎาคม 2557

สิงหาคม 2557

เมษายน 2558

สิงหาคม 2558

ตุลาคม 2559

มกราคม 2560

  • 15 - มีพระราชโองการโปรดเกล้ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2560[77]

เมษายน 2560

มกราคม 2561

  • 27 - มีการจัดชุมนุมใหญ่เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 25 ม.ค. โดยให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไปอีก 90 วันนับจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา[78]

มกราคม 2562

มีนาคม 2562

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bbc.com/thai/thailand-42846461 http://morning-news.bectero.com/political/23-May-1... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%...